คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงิน-กรอ

 คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงินกองทุน
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)  
 1.
เป็นผู้มีสัญชาติไทย                                    
 2.
เป็นนิสิตหรือนักศึกษาในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
2.1 เป็นผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนในปีการศึกษา 2555 หรือปีการศึกษา 2556
      หรือปีการศึกษา 2557 หรือปีการศึกษา 2558 ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่า
      ด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือ
2.2 เป็นนิสิตหรือนักศึกษารายใหม่ที่ขอรับทุนเพื่อเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ในปีการ
      ศึกษา 2559 ที่มิใช่ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นผู้กู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการ
      ศึกษา (กยศ.) และมีอายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 หรือ
2.3 เป็นนิสิตหรือนักศึกษาที่เป็นหรือเคยเป็นผู้กู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการ
      ศึกษา (กยศ.) ที่เปลี่ยนระดับการศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
      ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ เป็นระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับ
      อุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ในปีการศึกษา2559 และมีอายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ใน
      วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560
3.   เป็นนิสิตหรือนักศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาระดับ

      อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า ระดับปริญญาตรี
      หรือเทียบเท่า ตอบรับให้เข้าศึกษา โดยผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่สถาน
      ศึกษากำหนด

4.   เป็นผู้มีผลการเรียนที่มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดการศึกษา (GPAX) หรือคะแนน
      เฉลี่ยสะสมหนึ่งปีการศึกษาก่อนหน้าปีที่จะขอรับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืน ไม่ต่
      กว่า 2.00 สำหรับนิสิตหรือนักศึกษาผู้ขอรับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนแต่ละกลุ่ม
      ดังต่อไปนี้ 
4.1 ระดับการศึกษา ระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือ
     เทียบเท่า ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 
4.2 กรณีเป็นผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนรายใหม่ ตาม (2) (2.2) เฉพาะผู้ที่ขอรับ        ทุนเพื่อเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2559 ในระดับอุดมศึกษาหรือเทียบ         เท่า
4.3 กรณีเป็นผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนตาม (2) (2.3) เฉพาะผู้ที่เปลี่ยนระดับ
      การศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ
      เป็นระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า 
5.   เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ต่อสังคมหรือสาธารณะในระหว่างปีการศึกษาก่อนหน้า ปีการ
      ศึกษาที่จะขอรับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืน โดยมีหลักฐานการเข้าร่วมโครงการ/
      กิจกรรม ที่มีประโยชน์ต่อสังคมหรือสาธารณะที่น่าเชื่อถือ ตามจำนวนชั่วโมงที่กำหนด
      สำหรับผู้ขอรับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนแต่ละกลุ่ม ดังต่อไปนี้
5.1 กรณีเป็นผู้ขอรับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนตาม (2) (2.1) ทุกระดับการศึกษา
      ไม่น้อยกว่า ๓๖ ชั่วโมง 
5.2 กรณีเป็นผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนตาม (2) (2.2) เฉพาะผู้ที่ขอรับทุนเพื่อ
      เข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2559 ในระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ไม่
      กำหนดจำนวนชั่วโมง
5.3 กรณีเป็นผู้รับทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนตาม (2) (2.3) เฉพาะผู้ที่เปลี่ยนระดับ
      การศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ
      เป็นระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมง
* การทำประโยชน์ต่อสังคมหรือสาธารณะ หมายถึง การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคมหรือประเทศชาติในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อช่วยขัดเกลาจิตใจให้มีความเมตตากรุณามีความเสียสละ และมีจิตสาธารณะเพื่อช่วยสร้างสรรค์สังคม หรือสาธารณะให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งจะต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน และไม่ได้รับค่าตอบแทนในลักษณะการจ้าง 
6.   นิสิตหรือนักศึกษาผู้มีสิทธิขอรับทุน จะต้องศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่มีรายชื่อเข้าร่วม
     โครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตตามประกาศของกองทุนเงิน
     ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 
7.   นิสิตหรือนักศึกษาผู้มีสิทธิขอรับทุนจะต้องศึกษาในระดับการศึกษาและหลักสูตร/
      ประเภทวิชาและสาขาวิชา ดังนี้  
7.1 ระดับการศึกษา ระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือ
      เทียบเท่า ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
7.2 หลักสูตร/ประเภทวิชาและสาขาวิชา เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกองทุน
      เพื่อการศึกษา เรื่อง กำหนดหลักสูตร/ประเภทวิชา และสาขาวิชาที่เป็นความ
     ต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนสำหรับนิสิต หรือนักศึกษา
     ที่เข้าร่วมโครงการปีการศึกษา 2559
8.   นิสิตหรือนักศึกษาสามารถขอรับทุนได้เพียงหนึ่งหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษาไม่เกิน
      อัตราค่าเล่าเรียนที่สถานศึกษาเรียกเก็บตามจำนวนปีที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
การพิจารณาคุณสมบัติผู้ขอกู้ สถานศึกษาจะพิจารณาเป็นรายปี

คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงิน-กยศ.

 คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)  
 1.
เป็นผู้มีสัญชาติไทย                                    
 2.
เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้ 
2.1 ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หมายความว่า ผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 200,000           บาทต่อปี รายได้ต่อครอบครัว พิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1.1 รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของ
        บิดามารดาในกรณีที่บิดา มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
2.1.2 รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของ                       ผู้ปกครองในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองมิใช่บิดา มารดา
2.1.3 รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของ
        คู่สมรสในกรณีที่ผู้ขอกู้ยืมได้ทำการสมรสแล้ว
3. มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้  
3.1 เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา
3.2 เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรง          หรือไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติด
     ให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น
3.3 เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบคัดเลือกบุคคลเข้า
      ศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัดการควบคุม
      หรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงหรือส่วนราชการอื่นๆ ทบวง
      มหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ
3.4 ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดๆ มาก่อน
3.5 ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างศึกษา 
3.6 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย 
3.7 ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่
      เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
3.8 ต้องมีอายุในขณะที่ขอกู้ โดยเมื่อนับรวมกับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และระยะ              เวลาผ่อนชำระอีก 15 ปี รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี
           กรณีที่ผู้ขอกู้ยืมรายใดเคยกู้ยืมเงินกองทุน กยศ. หรือ กองทุน กรอ. มาแล้ว  แต่ผิด
นัดชำระหนี้และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อนฟ้องคดี และ/หรือเคยถูกฟ้องร้อง
ดำเนินคดีมาแล้ว   ผู้ขอกู้ยืมรายนั้นสามารถกู้ยืมเงินกองทุนต่อไป   หากได้ชำระหนี้ตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความ หรือชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนเสร็จสิ้นแล้ว 
การพิจารณาคุณสมบัติผู้ขอกู้ สถานศึกษาจะพิจารณาเป็นรายปี
ผู้ขอกู้ที่มีคุณสมบัติจะได้กู้หรือไม่
ขึ้นอยู่กับวงเงินกู้ยืมที่สถานศึกษาได้รับการจัดสรร