บทความทางจิตวิทยา-มาพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) กันเถอะ

 มาพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) กันเถอะ 
             ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้นไม่ใช่อาศัยเพียงความฉลาดทางวิชาการเท่านั้น เพราะ I.Q มีส่วนแค่ 20% เท่านั้น ที่เหลืออีก 80% มาจากปัจจัยอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความฉลาดทาง อารมณ์ (E.Q) หรือการมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้ที่รู้จักอารมณ์ของตนเองอย่างแท้จริง รู้จักใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์ เป็นไปในทางสร้างสรรค์จะช่วยคุณสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ดีขึ้น สามารถแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ชีวิตของคุณจะมีความสุขมากขึ้นด้วย และที่สำคัญคุณจะเป็นที่รักของคนทั่วไป ซึ่งคงจะเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนามากกว่าการเรียนเก่งมีสติปัญญาล้ำเลิศแต่เข้ากับใครไม่ได้เลย
           หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ลองนำขั้นตอนต่อไปนี้  ฝึกปฏิบัติกันได้เลย…
  • สำรวจตนเอง
        การสำรวจตนเองจะช่วยให้คุณรู้เท่าทันความรู้สึกของตนเองว่าขณะนั้นคุณมีความรู้สึกอย่างไร มีอารมณ์โกรธ ดีใจ เสียใจ หรืออิจฉาริษยา ซึ่งเป็นการแสดงถึงการเข้าใจความรู้สึกลึกๆ ที่ อยู่ภายในตัวคุณ เช่น เวลาที่คุณมีอารมณ์โกรธ  คุณรับรู้ถึงการสูบฉีดของเลือด  หัวใจของคุณจะเต้น เร็วกว่าปกติ ม่านตาขยายออก หน้าตาบึ้งตึง และคุณจะใช้วาจาตอบโต้คู่สนทนา อย่างก้าวร้าว หากคุณลองสังเกตดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งได้มากเท่า ไหร่ คุณก็จะสามารถแก้ไขความรู้สึก หรือรู้จักเก็บอารมณ์ ได้มากเท่านั้น ซึ่งการหมั่นสำรวจตนเองนั้นไม่ว่าอารมณ์ทางบวก หรือทางลง จะ ช่วยให้คุณจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้ดีขึ้น
  • หาวิธีจัดการกับอารมณ์
          เมื่อคุณรู้สึกโกรธใครซักคน คุณลองกำหนดความคิดเสียใหม่ แล้วเปลี่ยนจากพฤติกรรมที่ก้าวร้าว (ตามปรกติของคุณ) เป็นการมองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นอย่างมีสติโดย สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยโต้ตอบ หรือหากคุณอยากหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้นก็เดินออกไปก่อน(ที่จะมีเรื่อง) หรืออาจจะเลือกการออกกำลังกาย ก็จะช่วยลดความตึงเครียดได้ และการนั่งสมาธิ ซึ่งสามารถใช้ได้ผลกับอารมณ์เสียทุกประเภท ไม่ว่าคุณใช้วิธีไหนก็ดีทั้งนั้น จำไว้ว่าเสียเวลากับอารมณ์ลบใดๆ  แต่ให้พยายามดึงตัวเองให้พ้นจากอารมณ์ไม่พึงประสงค์
  • รับรู้อารมณ์ของผู้อื่นอย่างถูกต้อง
          บางครั้งในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรัก เพื่อน หรือใครก็ตาม อารมณ์ที่คุณรับรู้นั้น อาจมีลักษณะบิดเบือน หรือซ่อนเร้น จนคุณแทบจะสังเกตไม่เห็น เช่น การกล่าวขอบคุณ อาจเป็นได้ทั้งความรู้สึกประชดประชัน หรือเป็นบุญคุณ หรือชื่นชมคุณอย่างแท้จริงก็ได้ การหยั่งรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง จะช่วยให้คุณโต้ตอบได้อย่างมี ประสิทธิภาพ แสดงถึงความเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง และสามารถควบคุมการแสดงออกของตัวเองได้มากขึ้น
  • สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนทั่วไป
          อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมนั้น คุณจะต้องตระหนักถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลให้ได้ก่อน คุณควรยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ว่าแต่ละคนมาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน สภาพแวดล้อมต่างกัน ความสามารถไม่เหมือนกัน ลักษณะการแสดงออกทางอารมณ์ก็ไม่เหมือนกัน แต่ในความแตกต่างนั้น ทุกคนล้วนมีข้อดีที่คุณสามารถมองเห็นได้เหมือนกัน ควรนำข้อดีต่างๆ ของบุคคลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่ออารมณ์ของคุณ ทำให้อารมณ์ของคุณแจ่มใส ด้วยการมองคนในแง่ดี แล้วชีวิตคุณจะมีสุขได้ไม่ยาก
  • เอาชนะภาวะทางอารมณ์ให้ได้ 
          ข้อสุดท้ายที่คุณพึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็คือการเหนี่ยวรั้งอารมณ์ของคุณไม่ให้ทำอะไรตามอำเภอใจ โดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์ชั่ววูบต่างๆ ซึ่งคุณจะต้องฝึกฝน และพยายามพัฒนาจนเป็นนิสัย เช่น ถ้าคุณต้องการแก้ไขอารมณ์โกรธของคุณ ก็ควรมีความตั้งใจที่จะแก้ไขอย่างจริงจัง หากคุณฝึกที่จะรับมือกับอารมณ์ต่างๆ ได้มากเท่าไหร่ คุณก็จะพัฒนาไปสู่การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้มากขึ้นเท่านั้น และนั่นคืออีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญงอกงามในชีวิต

ข่าวที่สอง

1.ให้ น.ศ.ยืนยันการกู้ที่ www.studentloan.or.th ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 63 พร้อม Print แบบคำยืนยันการขอกู้ยืมเงิน จำนวน 1 ฉบับ

ตัวอย่างแบบคำยืนยันการขอกู้ยืม

2.ลงทะเบียนเรียน ภาค 2/2563 ตามวันที่มหาวิทยาลัยกำหนด

วิธีการลงทะเบียนเรียนสำหรับนักศึกษากองทุนฯ

กำหนดการลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 2/2563

3.นำเอกสาร ข้อ 1+2 ส่งที่ห้อง 12-601 และ 12-602 ตามลำดับ ภายใน วันที่ 15- 18 ธันวาคม 2563 (และวันที่ 12 – 20 มกราคม 2564 หากมีการเพิ่ม/ถอนรายวิชา)

4.บันทึกค่าเล่าเรียนตามใบเสร็จที่ www.studentloan.or.th หลังจากลงทะเบียนครบถ้วนทุกรายวิชาแล้ว

5.เซ็นแบบยืนยันค่าเล่าเรียน ที่ห้อง 12-602 เมื่อลงทะเบียนเรียนครบถ้วนทุกรายวิชาแล้ว

OK